พัฒนาการเด็กปกติ เดือนที่ 8

พัฒนาการปกติ เดือนที่ 8 “ขอไปเที่ยวด้วย”                                 


          ลูกจะเริ่มมีความสนใจสิ่งต่างๆ รอบตัวมากขึ้น                                                            เพราะเขาเริ่มเรียนรู้ ถึงความตื่นเต้นที่ได้ลองสิ่งใหม่ๆ เขาเริ่มทำอะไรเองได้มากขึ้น และจะชอบ เมื่อมีคนเล่นด้วยเด็กจะยังไม่ทราบถึงอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น จากการกระทำของเขา เช่น การคว้าถ้วยกาแฟร้อน หรือ การจับมีดปอกผลไม้ ที่วางอยู่บนโต๊ะ ช่วงนี้คุณจึงต้องระวังเป็นพิเศษ และพยายามตรวจเช็คดูสภาพห้องและบริเวณที่เล่นของลูก ว่าเป็นที่ที่ปลอดภัย


                  ลูกจะคลานได้คล่อง และเริ่มพาตัวเองไปยังที่ ที่ต้องการจะไปได้โดยเร็ว             
  ควรต้องระวังเรื่องประตู เพราะจะเป็นที่ที่เด็กชอบมาก เนื่องจากเห็นการเคลื่อนไหวนอกห้อง ที่น่าตื่นเต้นสำหรับเขา จึงเกิดอุบัติเหตุ ประตูเปิดกระแทกเด็ก หรือประตูหนีบนิ้วมือได้บ่อยๆ หรือไม่ก็อาจจะออกมานอกห้อง และคลานตกบันไดได้ลูกจะชอบเอานิ้วเล็กๆ แหย่ตามร่อง รู ที่เห็นตามพื้น หรือกำแพง หรือแม้แต่ ปลั๊กไฟ เกิดอันตรายร้ายแรงได้ ลูกจะนั่ง และคลานไปมา ได้นานขึ้น เพราะกล้ามเนื้อแขนขา และหลัง แข็งแรงขึ้น และเริ่มเกาะยืน (ชอบให้คุณอุ้มเขายืนบนตัก หรือโต๊ะ) คุณควรให้โอกาสเขาได้นั่ง และคลานเล่น บนพื้น จะดีกว่าการอุ้มตลอดเวลา หรือจับใส่ไว้ในเก้าอี้หัดเดิน (walker) เพราะเก้าอี้หัดเดิน ไม่ได้ให้เด็กได้มีโอกาสฝึกฝนการทรงตัว (balancing ) อย่างธรรมชาติ

                 เด็กจะเรียนรู้ จากการได้ลองทำการยืนด้วยตนเอง และเขาจะต้อง ลองแล้วลองอีก (trail and error) อีกหลายครั้ง กว่าจะรู้วิธีการ ที่จะขึ้นมาจากท่านั่ง เป็นเกาะยืน และเริ่มตั้งไข่ ซึ่งจะเป็นการเตรียมพร้อม ในการเดินในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เด็กจะเรียนรู้ว่า พื้นหรือเครื่องเรือนแบบไหน ที่จะรองรับน้ำหนักเขาได้ (ช่วงนี้จะพบว่าเด็กมีโอกาสตกโต๊ะ หรือเก้าอี้ได้บ่อยๆ จากการพยายามปีนของเขานั่นเอง) คุณสามารถช่วยลูกหัดหย่อนก้นลงนั่ง จากท่ายืนโดยการก้มตัวลง (งอส่วนลำตัวด้านบนกับสะโพก) โน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย และวางน้ำหนัก ไปทางก้น เพื่อที่จะได้นั่งลงได้ โดยไม่หงายหลัง หรือเจ็บตัว

                  ควรให้ลูกได้มีโอกาสฝึกฝนเองให้มาก เพื่อเขาจะได้เรียนรู้ และมีความมั่นใจ                   ในการก้าวต่อไป จะดีกว่าการปกป้องคอยอุ้มเขา กลัวเขาล้ม เพราะอาจทำให้เด็กไม่กล้า ที่จะลองทำการลุกนั่งเองให้ได้ลูกจะชอบรื้อของ โดยเฉพาะของที่อยู่ในตู้ อาจเป็นตู้เสื้อผ้า หรือตู้ในห้องครัว และตู้ในห้องน้ำ ที่ใช้เก็บสารเคมีต่างๆ เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ, น้ำยาล้างจาน,น้ำหอม ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีอันตรายมาก ถ้าเด็กทานเข้าไป หรือหกราดเข้าตา คุณจึงควรจะเก็บของเหล่านี้ ให้มิดชิด และใช้กุญแจล็อก ให้แข็งแรง ป้องกันไม่ให้ลูกเปิดได้ ในบางบ้านที่ระมัดระวังมาก จะไม่ใช้พวกน้ำยาล้างห้องน้ำที่แรงเลย เพราะแม้แต่สารตกค้าง ที่อยู่บนพื้นห้องน้ำ ฯลฯ ก็อาจทำอันตรายแก่ลูกได้ แม้แต่ถังขยะเล็กๆ ในห้องของคุณ ก็อาจเหมือนขุมทรัพย์ ที่น่าตื่นเต้นของเด็ก ที่จะเข้ามารื้อค้น ซึ่งถ้ามีสารพิษ หรือ เศษของมีคม ฯลฯ อยู่ ก็จะมีอันตรายได้ จึงควรมีการนำสิ่งเหล่านี้ ไปทิ้งในที่ที่พ้นมือเด็ก ข้างนอกบ้าน จะปลอดภัยกว่า

             ตาของลูกจะสามารถมองเห็น ในรายละเอียดต่างๆ ได้ดีขึ้น และจะเป็นคนช่างสังเกต        เขาจะสามารถ เอานิ้วชี้ไปยังสิ่งที่ต้องการ เพื่อบอกเราได้ และจะคอยสังเกตเห็นสิ่งของใหม่ๆ ที่อยู่ในห้อง (หรือในบ้าน) ได้เสมอ

       เรื่องการทานอาหาร ก็จะยังไม่ค่อยแน่นอน บางวันบางมื้อ อาจจะทานได้ดี บางมื้ออาจจะไม่ค่อยยอมทานเลย แล้วแต่ว่า อารมณ์และความสนใจของเขา จะอยู่ที่ไหน จึงควรปล่อยตามสบาย ไม่พยายามยัดเยียดให้ลูกต้องทานให้หมด ตามที่คุณแม่ต้องการ แต่ควรเป็นไป ตามที่เด็กต้องการ เพราะจะเกิดการต่อต้านขึ้นได้ง่ายและในที่สุด จะกลายเป็นเด็กทานยากขึ้น

       เรื่องการนอน ก็อาจจะยังไม่ค่อยลงตัว แต่ก็ยังต้องการ การนอนกลางวันอยู่ บางครั้งลูกอาจจะไม่ยอมนอน และพยายามเล่น จนเหนื่อย หรือเพลีย แล้วหลับไปได้นานกว่าธรรมดา ซึ่งเด็กบางคนในช่วงที่เริ่มเหนื่อย หรือง่วง จะค่อนข้างหงุดหงิด และจะต้องการให้คุณอุ้ม หรือกล่อมเขาจนได้ที่ ก่อนที่จะยอมหลับไปการพัฒนาด้านภาษา ก็ได้มีการวางรากฐานไว้ ตั้งแต่ช่วงลูกยังเล็กๆ นานก่อนที่ลูกจะพูดได้คำแรก คุณควรพยายามพูดคุยกับลูกเสมอๆ โดยการทำสีหน้า และโทนเสียงสูงเสียงต่ำต่างกันไป ในช่วงนี้ลูกจะสามารถแสดงสีหน้า และแววตา ว่าเขากำลังฟังคุณอยู่ บางครั้งเขาจะพยายามทำเสียงเลียนเสียงของคุณ เพื่อเป็นการโต้ตอบกัน

        คุณพ่อคุณแม่หลายคนในช่วงตอนนี้ อาจจะผ่อนภาระการเลี้ยงดูลูก ให้แก่พี่เลี้ยง หรือคุณตาคุณยายมากขึ้น เนื่องจากต้องไปทำงาน หรือมีเวลาน้อย แต่ก็ยังอยากให้คุณ จัดเวลาให้แก่ลูก เพื่อจะได้เล่น และดูเขาเติบโต อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากความใกล้ชิดที่คุณจะมีกับลูกนั้น ยังเป็นสิ่งที่สำคัญ สำหรับตัวเขา และการเป็น “พ่อแม่” ของคุณในแต่ละช่วงของชีวิตลูก ก็จะผ่านเลยไป ไม่สามารถหวนคืนมาได้อีก จะมีก็แต่ความประทับใจ และความทรงจำในความรู้สึกต่างๆ ที่คุณมีให้แก่ลูก ที่จะยังคงอยู่ ซึ่งทางฝรั่งจะมีการพูดว่า “ Your child can be a child only once” ฉะนั้นขอให้คุณแบ่งเวลาของคุณ ให้เหมาะสมด้วย