การพัฒนาการของเด็ก 1 ปี 1 เดือน (13 เดือน)
การพัฒนาการของเด็ก 1 ปี 1 เดือน (13 เดือน) "วัยแห่งการเรียนรู้"
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ลูกจะเริ่มสำรวจสิ่งต่างๆ ที่เดิมอยู่ไกลเกินเอื้อมของเขา แต่ตอนนี้เขาสามารถเข้าถึงสิ่งเหล่านี้ได้ เช่น อาจจะเดินมาดูลูกสุนัข และจะเอามือแตะมัน แต่พอมันเห่า หรือทำท่าจะกระโจนเข้าใส่ ก็จะกลัวถอยหนี หรือร้องไห้ให้คนมาอุ้ม ซึ่งก็เป็นการเรียนรู้ของลูกอย่างหนึ่ง หยิบจับคว้าของ นอกจากลูกจะสามารถใช้เท้าเดินได้ดีขึ้นแล้ว เขาก็ยังใช้มือทำอะไรๆได้มากขึ้นด้วย
ลูกจะเริ่มหยิบของ เอามาหย่อนใส่ลงกล่องได้ บางคนอาจจะเริ่มลากเส้นดินสอสีในมือ แต่ก็เป็นเพียงการขีดเขียนทั่วไป ไม่เป็นรูปร่างอะไรนัก แม้ว่าเด็กบางคนอาจจะจับช้อนทานข้าวได้ แต่ก็ยังไม่สามารถทำท่าป้อนอาหารให้ตนเองได้ เริ่มโตช้าลง และทานอาหารน้อยลง คุณพ่อคุณแม่หลายคนจะหงุดหงิดที่พบว่า ลูกในวัยนี้ มีพฤติกรรมการทานอาหารเปลี่ยนไปจากเดิม ที่เคยทานอย่างว่าง่าย ป้อนเท่าไรก็เอาหมด กลายเป็นทานยากขึ้น และดู “อิ่ม” เร็ว เอามือปัด หรือปิดปาก แม้เพียงเพิ่งเริ่มป้อนได้ไม่กี่คำ
ในช่วงต้นอายุ 1 ขวบนี้ โดยทั่วไป เด็กจะมีน้ำหนักตัวเป็น 3 เท่า ของน้ำหนักแรกเกิด และสูง (ยาว) ขึ้นจากตอนแรกเกิด ประมาณ 25 ซ.ม. ขณะที่จาก 1 ขวบ ถึง 2 ขวบ น้ำหนักจะขึ้นช้าลง เพราะเด็กจะเริ่มมีไขมันสะสมน้อยลง และกล้ามเนื้อจะแน่นขึ้น และเป็นธรรมดา ที่เด็กจะมีพฤติกรรมการทานอาหาร ที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง เป็นช่วงๆ บางช่วงอาจทานข้าวได้ดี แต่ทานนมน้อยลง บางช่วงจะดูเหมือนเบื่อข้าว เอาแต่นม ซึ่งถ้าเด็กยังทานอะไรบ้างในแต่ละวัน และไม่ได้มีอาการเจ็บป่วยอะไร ก็ขอให้คุณพ่อคุณแม่ทำใจให้สบาย และคอยดูอยู่ห่างๆ เพราะเด็กที่มีสุขภาพแข็งแรง ก็จะทานอาหารเอง ตามที่เขาอยากจะทาน (แต่อาจจะไม่ได้ตามที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการ) ขออย่าได้พยายามยัดเยียด หรือจับกรอก จนเด็กกลัวและเกิดการต่อต้านในที่สุด
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
การติดต่อสื่อสารกับคนอื่นๆ เด็กเริ่มจะมีคำพูดเป็นคำๆ ที่มีความหมาย เช่น มามา (แม่) หรือ ยายา ( ยาย หรือย่า) ฯลฯ ได้ และแม้ว่าลูกจะยังพูดได้ไม่กี่คำ แต่ก็จะมีวิธีการ ที่จะบอกให้คุณพ่อคุณแม่รู้ว่า เขาต้องการอะไร เช่น ชี้นิ้วให้วางเขาลงที่พื้น เมื่อต้องการลงพื้น หรือดึงมือ ดึงเสื้อคุณเมื่อเขาต้องการให้คุณสนใจเขา และเขาดูจะฟังคุณพูดรู้เรื่องได้ดีพอควร เวลาคุณเล่นกับเขา หรือบอกให้เขาทำอะไร เมื่อใช้คำพูดง่ายๆกับเขา “ ไหน…ขอลองดูซิว่าจะเกิดอะไรขึ้น…ถ้า….”
ลูกดูจะเป็นนักทดลองตัวน้อย เขากำลังเรียนรู้ ดูปฏิกิริยาโต้ตอบของสิ่งของ หรือคนรอบข้าง ดูว่าจะเป็นอย่างไร….ถ้า….เช่น ลองเอาถ้วยปล่อยลงพื้น, หรือลองเอามือละเลงอาหารที่อยู่ในจานตรงหน้า…ลูกจะคอยสังเกตดูว่า จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเขาทำอย่างนั้น และเนื่องจากความจำของลูกนั้นยังไม่พัฒนาอย่างเต็มที่ ลูกจึงชอบที่จะทำสิ่งนั้นๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก ลูกดูจะเป็นนักทดลองตัวน้อย เขากำลังเรียนรู้ ดูปฏิกิริยาโต้ตอบของสิ่งของ หรือคนรอบข้าง ดูว่าจะเป็นอย่างไร….ถ้า….เช่น ลองเอาถ้วยปล่อยลงพื้น, หรือลองเอามือละเลงอาหารที่อยู่ในจานตรงหน้า…ลูกจะคอยสังเกตดูว่า จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเขาทำอย่างนั้น และเนื่องจากความจำของลูกนั้นยังไม่พัฒนาอย่างเต็มที่ ลูกจึงชอบที่จะทำสิ่งนั้นๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก
วัคซีนป้องกันโรค วัย 1 ขวบนี้ จะมีวัคซีนที่สำคัญอีกหลายอย่าง ที่จะต้องให้ในช่วงนี้ ได้แก่ วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบญี่ปุ่น ซึ่งต้องฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 1- 2 อาทิตย์ และมีวัคซีนพิเศษ ที่ให้เลือกทำได้ ได้แก่วัคซีนป้องกันอีสุกอีใส (ตั้งแต่อายุ 1 ปี ขึ้นไป) สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการป้องกันลูกจากโรคอีสุอีใส และที่ช่วงอายุ 12 - 15 เดือน จะมีวัคซีนป้องกันโรคหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม อีก จึงควรปรึกษาแพทย์ ที่ดูแลลูกเรื่องวัคซีนเหล่านี้ ตามเกณฑ์อายุของเขา (ดูในบทวัคซีนป้องกันโรค)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------ขอบคุณผู้เขียนพญ.จันท์ฑิตา พฤกษานานนท์